สถิติเพื่อการวิจัยไม่ยาก

สถิติเพื่อการวิจัยไม่ยาก(Easy Guide: Statistic for Research) เครื่องมือมหัศจรรย์สำหรับการตัดสินใจที่แม่นยำ เรียนรู้แบบง่ายๆ นำไปใช้แบบไม่ยาก

หนังสือที่คนทำวิจัยมือใหม่ต้องอ่าน! เหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษาปริญญาตรี โท เอก นักวิจัยในองค์กรต่างที่ต้องทำงานวิจัย เนื้อหาแน่นปึ้ก แต่อ่านง่ายกว่าเล่มอื่นเยอะ! ข้อมูลตั้งมากมาย จะจัดการอย่างไรดี แล้วคะแนน 80 คะแนน กับ 82 คะแนน ต่างกันไหมนะหรือถ้ารู้ข้อมูลหลายๆ อย่าง แล้วเราจะเอามาพยากรณ์ข้อมูลอีกค่า จะยากหรือเปล่าสถิติตอบคำถามของคุณได้ ในเล่มนี้
 
คำนำ
จุดเริ่มต้นของการเขียนหนังสือเล่มนี้  เริ่มต้นจากการที่ผู้เขียนมักได้ยินคนรอบข้าง  พูดเสมอๆ ว่า “สถิติน่าเบื่อ” “สถิติยากจังไม่เข้าใจเลย” “ข้อมูลแบบนี้เลือกเครื่องใช้สถิติแบบไหนดี”  และอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงมักเห็นอาการเบื่อๆ เซ็ง ๆ เสมอเมื่อต้องเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสถิติเพื่อนำไปใช้งาน จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เขียนอยากเขียนหนังสือสถิติเพื่อการวิจัยที่อ่านแล้วสามารถเข้าใจได้ง่าย และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

หนังสือเล่มนี้คงเป็นจุดเริ่มต้นให้ใครหลายๆ คนเข้าใจในสถิติและการเลือกเครื่องมือทางสถิติได้มากขึ้น และเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับสถิติสำหรับใครหลายๆ คนได้บ้างลองมาเปลี่ยนมุมมองใหม่เกี่ยวกับสถิติดูนะคะ  แล้วคุณจะสนุกกับการใช้สถิติในการทำวิจัย รวมถึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ ได้มากมายเลยค่ะ
 
สารบัญ
บทที่ 1 รู้จักกับสถิติ 
สถิติคำนี้น่ากลัวจริงเปล่า 
คำศัพท์ทางสถิติต่างๆ ที่ควรรู้ 
ทำไมต้องใช้สถิติในงานวิจัย 
สถิติช่วยให้ชีวิตเราดีขึ้นได้อย่างไร
วิธีมองสถิติมุมใหม่ที่ไม่น่าเบื่อเหมือนเคย 

บทที่ 2 วิธีการเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมกับงานวิจัยสไตล์เรา 
มีสถิติแบบไหนบ้างที่ใช้ในงานวิจัย 
งานวิจัยแต่ละประเภทเหมาะกับสถิติแบบไหน 
สิ่งที่ควรรู้ก่อนเลือกใช้เครื่องมือสถิติ 

บทที่ 3 สถิติเชิงบรรยายคืออะไร 
สถิติเชิงบรรยายคืออะไร 
อันไหนยาก อันไหนง่าย 
คำนวณค่าการวัดแนวโน้มสู่ศูนย์กลางทำอย่างไร 
การวัดการกระจายทำอย่างไร 

บทที่ 4 สถิติเชิงอนุมาน คืออะไร 
สถิติเชิงอนุมานคืออะไรกัน 
สิ่งที่ควรรู้และเข้าใจก่อนใช้สถิติเชิงอนุมาน
การทดสอบสมมติฐาน 
สถิติเชิงอนุมานมีแบบไหนบ้าง 
เครื่องมือในกลุ่มของสถิติมีพารามิเตอร์ 
 1. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 
 2. เปรียบเทียบค่าความแปรปรวน 
 3. การหาความสัมพันธ์ 
 4. การพยากรณ์ 
เครื่องมือในกลุ่มของสถิติไม่มีพารามิเตอร์ 
เครื่องมือในกลุ่มของสถิติไม่มีพารามิเตอร์ 
 1. การทดสอบว่าข้อมูลที่ได้มาเป็นแบบสุ่มหรือไม่ 
 2. เปรียบเทียบค่ากลาง 
 3. เปรียบเทียบค่าสัดส่วน 
 4. หาความสัมพันธ์และทดสอบอัตราส่วน 

บทที่ 5 ตัวอย่างการงานวิจัยที่ใช้สถิติ และการคำนวณด้วยโปรแกรม Minitab® 
ข้อมูลมีการกระจายแบบปกติหรือไม่ 
ทดสอบความแปรปรวนของข้อมูล
เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย
การหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 
เปรียบเทียบอัตราส่วน
การพยากรณ์ข้อมูล
ข้อมูลได้มาอย่างสุ่มหรือไม่ 
ทดสอบสัดส่วน 
ต้องการเปรียบเทียบค่ากลาง 

บทที่ 6 การนำเสนอผลสถิติอย่างไรให้โดนใจ 
การนำเสนอคืออะไร 
เทคนิคนำเสนอผลสถิติให้โดนใจ
ตารางแจกแจงความถี่
กราฟรูปแบบต่างๆ 
หนังสือสถิติที่แนะนำ